วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

                คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ สามารถเก็บข้อมูลได้ ปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ คำนวณได้ เปรียบเทียบได้ ออกแบบสร้างรูปแบบที่เราต้องการได้สามรถทำงานให้เราได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
ลักษณะพิเศษของคอมพิวเตอร์
สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว
สามารถเก็บหน่วยความจำได้มาก
ทำงานด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์
ข้อมูลที่ได้ถูกต้องและแม่นยำ
สามารเปรียบเทียบข้อมูลได้
ปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้ประกอบด้วย
ปัจจัย 3 ประการ
1.       ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2.       ซอฟต์แวร์ (Software)
3.       บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (People ware) 
         ระบบคอมพิวเตอร์
1.       ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้
หน่วยรับข้อมูล (Input)                          หน่วยประมวลผล (CPU)                          หน่วยแสดงผล (Output)
            หน่วยรับข้อมูล ( Input Unit ) ทำหน้าที่รับข้อมูลโปรแกรมต่างๆที่ส่งผ่านอุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องพิมพ์ ( Keyboard ) เมาส์ ( Mouse ) สแกนเนอร์ ( Scanner ) เครื่องขับแผ่นดิสก์ ( Disk Drive )
            หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า CPU ซึ่งประกอบด้วย
-          หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ในการควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณ และตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่ง
-          หน่วยคำนวณ และตรรก ทำหน้าที่คำนวณหาค่าตัวเลขการเปรียบเทียบ
-          หน่วยความจำ ทำหน้าที่ในการเก็บโปรแกรมข้อมูลและผลลัพธ์ต่างๆก่อนจะถูกนำไปหน่วยอื่นๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
(1)  หน่วยความจำหลัก ได้แก่ หน่วยความจำแบบแรม (RAM) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมและข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้นขณะทำงานอยู่ มีการบันทึกถ้าเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเปิดใหม่ ข้อมูลที่บันทึกไว้จะถูกยกเลิก
(2)  หน่วยความจำรอง ได้แก่ หน่วยความจำแบบรอม (ROM) เป็นหน่วยความจำที่ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ แต่สามารถอ่านข้อมูลที่บันทึกในรอมขึ้นมาใช้งานได้ เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเปิดขึ้นมารอมจะไม่สูญหาย
หน่วยแสดงผล (Output Unit) คือ ส่วนที่แสดงข้อมูล เป็นตัวกลางของการสื่อสาร ระหว่างคอมพิวเตอร์กับคน โดยรับข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว จากนั้นจึงแสดงผลในรูปแบบต่างๆ โดยอาศัยอุปกรณ์แสดงผล อาจแสดงให้เห็นให้ได้ยินเสียง หรือบางครั้ง ก็สามารถสัมผัสได้ เช่น
จอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นต้น
          2. ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมชุดของคำสั่งที่เขียนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
2.1  ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง เช่น MS-DOS ระบบปฏิบัติการ Windows
2.2  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) ได้แก่ โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาใช้งาน เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ
         3.  บุคลากร (Pepleware)
บุคลากร (Pepleware) หมายถึง บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการใช้ดูแล เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น นักวิเคราะห์ข้อมูล นักเขียนโปรแกรม ผู้ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ 
                ปัจจุบันมีคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องระหว่างคอมพิวเตอร์และการศึกษาคือ "คอมพิวเตอร์ศึกษา" (Computer Education) หมายถึง การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ เช่น การเขียนภาษาโปรแกรมต่าง ๆ การผลิต การใช้ การบำรุงรักษาเครื่อง
คอมพิวเตอร์ (Hardware) และซอฟแวร์ (Software) รวมถึงการศึกษาวิธีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อกิจการด้านต่าง ๆ
       สรุปแล้วการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา คือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในกิจการด้านการศึกษา ประกอบด้วยงานหลัก 4 ระบบ
                 1. คอมพิวเตอร์เพื่อบริหารการศึกษา (Computer for Education Administration) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารงานด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารงานด้านการศึกษาประกอบด้วยครู ผู้เรียน และเจ้าหน้าที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องอื่น ๆเป็นต้น
                 2. คอมพิวเตอร์เพื่อบริการการศึกษา (Computer for Education Service) หมายถึง การบริการการศึกษาด้านต่าง ๆ เช่น การบริการสารสนเทศการศึกษา
                 3. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน (Computer Assisted Instruction) หมายถึงการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในกิจกรรมการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาต่างๆ   
                 4. การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) เป็นการศึกษา การสอน/การฝึกอบรมเกี่ยวกับความรู้ความสามารถ
และทักษะการใช้คอมพิวเตอร์โดนตรงรวมทั้งการประยุกต์ใช้ และเจตคติต่อคอมพิวเตอร์และ ICT